Tuesday, January 6, 2015

Microsoft Azure ตอนที่ 1

Microsoft Azure ตอนที่ 1
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ห่างหายไปนานมากเพราะช่วงปีที่ผ่านมางานล้นมือจริงๆครับ ไม่มีเวลามานั่ง Update ข่าวสารใน blog เลย (หรือข้อแก้ตัวหว่า อิอิ) เข้าเรื่องเลยแล้วกันครับ วันนี้ผมจะมาให้ความรู้ทุกท่านรู้จัก Windows Azure ครับ (อ่านว่า อะซัว) จริงๆ Microsoft เปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft Azure แว้ว

Microsoft Azure คืออะไร Azure (อ่านว่า อะซัว) อย่าสะกดผิดนะครับ ฮ่าๆ  เป็น Platform ระบบปฏิบัติการสำหรับระบบคลาวด์ คลาวด์คือ Service ของ Microsoft ที่เราไม่ต้องสนใจว่า Server อยู่ที่ไหน จะพังเมื่อไหร่ Microsoft ดูแลให้หมดครับและมี Datacenter อยุ่หลายที่ ทั้งเอเชีย ยุโรบ อเมริกา ของไมโครซอฟท์ (Microsoft) ไว้สำหรับรันโปรแกรม หรือ จัดเก็บข้อมูลแบบ Online ทำงานอยู่บนเครือข่าย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สามารถรองรับรูปแบบประเภทของโปรแกรมได้หลากหลาย และขนาดของโปรเซสของโปรแกรมและปริมาณข้อมูลที่มีขนาดมหาศาล ผ่านระบบของ Cloud Computing (การทำงานด้วย Server หลาย ๆ เครื่อง) โดยบริการหลัก ๆ ก็เช่น Web Sites (ใช้สำหรับรันเว็บไซต์) , Virtual Machines (สร้าง VM Ware ทั้ง Windows และ Linux), Cloud Services (จัดเก็บข้อมูลและรันโปรแกรมต่าง ๆ ) , Mobile Services (จัดเก็บพวกข้อมูลที่เขียนร่วมกับ App มือถือ Smart Phone) และก็มี Service อื่น ๆ อีกหลายตัว โดยบริการ Cloud Service ดังกล่าวทั้งหมดนี้เราเรียกภายใต้ชื่อว่า Microsoft Azure




          หน้าตา Windows Azure กับ Management Portal ไว้จัดการกับ Service ต่าง ๆ ครับ


การใช้งาน Microsoft Azure จะมาพร้อมกับเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการบริหารการจัดการระบบโดยอัตโนมัติ ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลามากสำหรับการที่จะเรียนรู้หรือปรับระบบมาใช้กับ Azure ดังนั้นทำให้นักพัฒนาสามารถทุ่มเทกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นของตัวเองได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลกับสภาพแวดล้อมว่าจะรองรับกับแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นหรือไม่และ Server ที่ Run App อยู่จะให้บริการได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ และ Microsoft Azureเป็นในลักษณะของ SaaS (Software As A Services) ใช้แค่ไหนก็จ่ายเท่าจำนวนเงินที่ใช้ ควบคุม Budget ได้ด้วยตัวเอง  (เหมือนค่าน้ำค่าไฟครับ คือใช้มากจ่ายมากใช้น้อยจ่ายน้อย )

Windows Azure ออกแบบรองรับทั้ง Microsoft Visual Studio และมาตรฐานหรือภาษาโปรแกรมมิ่งต่างๆ ที่ได้รับความนิยม เช่น SOAP, REST, XML, Java, PHP และ Ruby ในการใช้งาน Windows Azure เราสามารถที่จะใช้งานด้วยการย้ายโปรแกรมของเราไปใช้งานบน Cloud ได้ทันที โดยไม่ต้องปรับแต่งหรือเรียนรู้สภาพแวดล้อมใหม่ เพราะเราสามารถเลือกที่จะใช้ Service ที่เราคุ้นเคยได้ เช่น Virtual Machines ในกรณีที่เรามีเว็บไซต์ที่รันด้วย Linux , PHP และ MySQL เราก็สามารถเลือกที่จะติดตั้งและใช้งาน Linux , PHP และ MySQL ได้เช่นเดิม เพียงแต่อาจจะปรับรูปแบบการเข้าถึงและจัดการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


ข้อดีของการใช้ Microsoft  Azure
- เลือกใช้เฉพาะ Service ที่เราต้องการครับ เช่น Web Site , Virtual Machines หรือ Cloud Services หรืออื่น ๆอันไหนไม่ใช้ก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ
- จ่ายเฉพาะปริมาณที่ใช้ (เหมือนค่าน้ำค่าไฟหรือใครไม่จ่ายค่าไฟบ้างครับ ฮ่าๆ) สามารถกำหนด ค่าใช้จ่าย ควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ สามารถขยาย-ลด ขนาดของทรัพยากรได้ตลอดเวลา
- ลดภาระการ Maintenance Hardware และการเสื่อมของ Hardware เพราะ Microsot  Azure เป็นผู้ทำหน้าที่นี้เอง คือ ตรงจุดนี้น่าสนใจมากครับ คือเวลาที่เราจะ Run App สักระบบนึงสิ่งที่เราต้องมานั่งกังวลว่า Server จะ มีปัญหามั้ย ไฟจะดับมั้ย น้ำจะท่วมมั้ย แม้กระทั่งไฟจะใหม้หรือเปล่า ซึ่งปัญหาที่ผม List มานั้นมีทั้งมีมนุษย์สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ถ้าเราใช้ Microsoft Azure เราไม่ต้องกังลวเลยครับ เพราะ Azue จะดูแลให้เราหมดครับ ข้อแค่ internet เราใช้ได้ก็พอ

- ง่ายต่อการใช้งาน สามารถย้าย Application ของเราไปใช้งานบน Azure ได้อย่างง่ายดาย
ไม่ว่าจะภาษา .NET Java PHP Python และ Ruby หรืออื่น ๆ ก็สามารถนำ Application เหล่านั้นไปรันบน Windows Azure ได้ คือ หมายความว่า ถ้าเรามีระบบเดิมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม หรือ Database แม้กระทั้ง VM เองเราสามารถนำข้อมูลของเราย้าย online ไปเก็บที่ Azure ได้ครับ

- ในกรณีที่พัฒนาด้วย .NET Framework จะมี Tool ที่สามารถ deploy publish ไปใช้บน Windows Azure แบบง่ายสุด ๆ (DEV หรือ โปรแกรมเมอร์คงชอบมากๆ)
- มีเครื่องมือที่สามารถจัดการกับ Service ต่าง ๆ ผ่าน Web Browser เช่น Management Portal ที่จะช่วยจัดการกับ Service ได้อย่างง่ายดาย
- รองรับขนาดของโปรแกรมที่ใหญ่ขึ้น โดยจำนวน Process จะขยายรองรับตามขนาดของโปรแกรมที่ใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสเกิด Load นั้นน้อยมาก
- Data Center เป็น International เพราะฉะนั้นจะเป็นผลดีในการเข้าถึงข้อมูลได้จากทั่วโลก การทำการตลาดของกลุ่มเป้าหมาย ในประเทศต่าง ๆ ได้ Ddata Center ของ Microsoft ถ้าใน เอเชียก็จะมี ที่สิงคโปร์ ฮ่องกง ครับ รวมถึงทางยุโรป อเมริกากด้วยครับ
- เพิ่มโอกาสทางธุรกิจในต่างประเทศ และรักษามาตรฐานการเชื่อมต่อกับข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน
- ไม่ต้องกลัวข้อมูลศูนย์หาย เพราะ Microsoft Azure มี Node อยู่หลายแห่ง คือในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นกับแห่งใดแห่งหนึ่ง Node อื่น ๆ จะสามารถทำงานแทนกันได้ทันที บางครั้ง Downtime ที่เกิดขึ้น แม้แต่ วินาทีเดียวในบางบริษัทก็ทำให้เกิดการสูญเสียทางธุรกิจได้ครับ เพราะการติดต่อสื่อสารในบางบริษัทจะต้องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ 24 ชม
- อัตราการ Downtime หรือ Server ล่มนั้นน้อยมาก เพราะมีการรับประกัน Uptime 99.99%
มีมาตรฐานเรียบง่าย เชื่อถือได้ ปลอดภัยสูง และทรงพลังในการที่จะใช้งาน มั่นใจว่า Application จะได้
ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด ตรงจุดนี้เป็นข้อดีมากๆ ที่ Azure มีอยู่หลาย Node ถึงแม้ไฟ้จะให้ที่ Node ใด Node นึง (ผมสมมุติเฉยๆนะครับ ซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก) ก็ยังมีอีกลาย node ที่สามารถทำงานได้เพราะข้อมูลถูกเรพพลิเคตถึงกันหมดครับ




สรุป Windows Azure เป็น Solution ที่เข้ามาจัดการในรูปแบบของ Application ที่ทำงานผ่านระบบ Internet ความเร็วสูง ที่ต้องการความเสถียร มาตรฐาน และความปลอดภัย ถ้าจะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น ปกติแล้วเรามีเว็บไซต์ หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบน Server เราก็จะต้องมี Domain และ Host / FTP แบบ Shared หรือใช้แบบ Delicate Server , VPS ซึ่งปัญหาที่เราพบเจอก็คือ ปัญหาการล่มของเว็บไซต์ อาจจะเกิดจาก ปัญหาจาก Data Center , Server หรือ ปัญหาจากการโหลดของ Server เนื่องจากโปรแกรมและ Database มีขนาดใหญ่ขึ้น และปัญหาอื่นของ Data Center ในประเทศไทยที่เจอประจำคือ ไฟดับ แอร์ไม่เย็น และทางด้านเน็ตเวิร์ค ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้ Windows Azure ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และจะเป็นเทคโนโลยี่ในอนาคตที่น่าสนใจมาก ครับ

Sunday, November 10, 2013

การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่5 )

การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่5 )

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมจะมา Update เรื่องการบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR  ในตอนที่ 5 ต่อนะครับ ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่ 4 และตอนที่ 3 ท่านผู้อ่านก็น่าจะเห็นภาพรวมในการใช้ Systems Center 2012 ในการบริหารจัดการ Vmware  โดยใช้ SCVMM2012 เข้าไปบริหารจัดการ   Add Vcenter Sever  และ Vmware ESX และ  Import Vmware Template ใช้งานครับ  รวมไปถึงการ Convert VMware Virtual Machines to Hyper-V Virtual Machines using SCVMM 2012  ตั้งแต่ตอนที่ 1-4 เราได้เตรียมความพร้อมหลังบ้านมาแล้วครับ เพราะฉะนั้นในตอนที่ 5 ก็พร้อมที่จะ "Create a Private Cloud from a VMware Resource Pool " แล้วครับ

Step  ในการ Create Private Cloud from a VMware Resource Pool มีขั้นตอนอย่างไร มีทั้งหมด 11 Step ง่ายๆดังนี้ ครับ


Step 1: ใน SCVMM Console ให Click VMs and Services  แล้ว Click Create Cloud.


















Step 2 : On the General ให้ ตั้งชื่อครับ VMware Private Cloud  ดังรูปผมตั้งชื่อ VMware Resource Cloud ครับ Description จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ครับ













Step 3: On the Resources Click VMware resource pools และ select an available VMware resource pool  และ click Next ครับ

















Step 4: On the Logical Networks ให้ เลือก Logical Networks ที่เรา Create ขึ้นครับ












Step 5: On the Load Balancers ให้เลือก  Load Balancers ในที่นี้ผมเลือก Microsoft Network  Load Balancers ครับ 











Step 6 : On the VIP Profiles ให้เลือก VIP Profile ครับ














Step 7 : On the Storage ในที่นี้ถ้ามีการทำ classifications Storage เอาไว้สามารถ เลือก Storage ที่ต้องการได้ลยครับ แต่ในกรณีที่ยังไม่มีการทำ  classifications Storage เอาไว้สามารถไป Add ที่หลังได้ครับ  















Step 8 : On the Library   On Stored VM path ให้ Click  Browse. In the Select Destination Folder เพื่อ Browse ไปที่ Library Server ครับ




































Step 9 : On the Capacity "ตรงนี้เป็นการกำหนด VM Capacity  ครับ คือเราต้องกำหนดให้ VM  Cloud ของเรา Capacity เท่าไหร่ ตรงนี้ ผู้ดูแลระบบ Cloud ต้องมีการวางแผนให้ดีครับ  ยกตัวอย่างเช่น เรากำลัง Create Cloud ของ แผนก Programmer นองค์กร สมมุติแผนก Programmer ในองค์กรมีทั้งหมด 5 คน ในกรณีที่มีคนในแผนกมา Request ขอใช้ VM เราจะต้องกำหนด Capacity  เช่น  VM  VCPU ,VMemory , VHarddisk  ให้กับแผนก Programmer ว่า สามารถขอ Request VM  VCPU ,VMemory , VHarddisk ได้เท่าไหร่ครับ เช่นเราอาจจะประเมินคร่าวๆ จากการใช้งานของ Programmer โดยสอบถามจาก Programmer ก็ได้ครับว่าเขาต้องการใช้กี่ VM RAM ,CPU ,Disk ที่ต้องการเท่าไหร่และต้องการ Request VM ไปติดตั้งอะไรครับ 

























Step 10: On the Capability Profiles  ให้เรา Check box  ESX Server แล้ว Click Next ครับ









Step 10 : On the Summary Click Finish ครับ


















Step 11: On VMs and Services workspace ก็จะมี Cloud ที่เรา Create ขึ้นครับ
















เห็นมั้ยละครับ ท่านผู้อ่าน การ  "Create a Private Cloud from a VMware Resource Pool " ไม่ยากอย่างที่ทุกท่านคิดไว้ใช่มั้ยครับ เราสามารถ Create a Private Cloud from a VMware ด้วย SCVMM2012 ในตอนหน้าผมจะพาท่านผู้อ่าน ไป Create ระบบ Automating your VMware Infrastructure using System Center 2012 Orchestrator ครับ  วันนี้ขอตัวไปทำงานก่อนนะครับ ตอนที่ 6 อย่าลืมติดตามนะครับ


















Sunday, October 20, 2013

การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่4 )

การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่4 )

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมจะมา Update เรื่องการบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR  ในตอนที่ 4 ต่อนะครับ  ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ท่านผู้อ่านก็น่าจะเห็นภาพรวมในการใช้ Systems Center 2012 ในการบริหารจัดการ Vmware  โดยใช้ SCVMM2012 เข้าไปบริหารจัดการ รวมถึงเข้าไป  Add Vcenter Sever  และ Vmware ESX รวมถึงการ Import Vmware Template ใช้งานครับ  ขั้นตอนต่อไปผมจะพาท่านผู้อ่านมาดูวิธีการ   Convert VMware Virtual Machines to Hyper-V Virtual Machines using SCVMM 2012  ในกรณีที่ต้องการ Convert VMware  to Hyper-V ครับ มีทั้งหมด 14 Step วิธีการทำอย่างไรมาดูวิธีกันเลยครับ


Step 1 : Open console SCVMM2012 แล้ว Click VM and Service ครับ






















Step 2 : ที่ Home Tab ให้ Click Create Virtual Machine drop-down Click Convert Virtual Machine



















 

Step 3 : The Convert Virtual Machine Wizard Select the virtual machine that you would like to convert  click Browse ครับ













Step 4  : ใน Select Virtual Machine Source dialog box ให้ click the VMware virtual machine that you want to convert   แล้ว click OK ครับ


 











Step 5 : Select Source page แล้ว click Next ครับ
















Step  6 : ใน  Specify Virtual Machine Identity  click Next ครับ
















Step 7 :  Virtual Machine Configuration  ให้เรา Config CPU หรือ Memory ที่ต้องการครับ 










Step 8 :  Select Host ให้เราเลือก Hyper-V Host ที่เราต้องการครับ ในตัวอย่าง เราสามารถดู Rating ที่เป็นรูปดาวนะครับ ว่า Host ไหน Rating เป็นยังไงถ้า Rating ดีมีรูปดาวเยอะ แสดงถึง Performance ของ Host นั้นครับ ว่ายังเหลือ Resource ให้เราสามารถ Create VM ใช้งานใน Host ได้ครับ





 









Step 9 : ให้เราทำการ Select Path และ Storage location เพื่อระบุ Path ของ VM ครับ 

















Step 10 : Select Networks ให้ Select the logical network the virtual network and the VLAN  ครับ














Step 11 : Add Properties  ให้เราทำการเลือกว่าหลังจาก Convert เรียบร้อยแล้ว จะให้ VM Automatic Actions เป็นยังไง เช่น ให้ VM  Turn Off ไว้ก่อนหลังจาก  Convert แล้วครับ














Step 12 : Summary  ให้ click Start the virtual machine after deploying it check box แล้ว กด Create ครับ














Step 13 :  หลังจากนั้นก็คอยดูระหว่าง Convert ให้ดู Job ว่า Completed หรือเปล่า ถ้า Completed ก็ ถือว่า  Convert เรียบร้อยครับ











Step 14 : เข้าไปใน VM and Service Console ก็จะเห็น VM  ที่ Convert มาเรียบร้อยแล้วครับ















เห็นมั้ยละครับ ท่านผู้อ่าน การ Convert VMware Virtual Machines to Hyper-V Virtual Machines using SCVMM 2012 ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ  SCVMM2012 ทำให้เรา Convert VMware มาเป็น Hyper-V ได้อย่างง่ายดายครับ สำหรับวันนี้ผมขอจบตอนที่  4 ไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ ตอนที่ 5 ผมจะพาท่านผู้อ่านไป Create a Private Cloud from a VMware Resource Pool กันครับอย่าลืมติดตามนะครับ



 



การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่3 )

การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่3 )

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านครับ วันนี้ผมจะมา Update เรื่องการบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR  ในตอนที่ 3 ต่อนะครับ  ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่ 2 ท่านผู้อ่านก็น่าจะเห็นภาพรวมในการใช้ Systems Center 2012 ในการบริหารจัดการ Vmware  โดยใช้ SCVMM2012 เข้าไปบริหารจัดการ รวมถึงเข้าไป  Add Vcenter Sever  และ Vmware ESX ทั้งหมด 18 ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปผมจะพาท่านผู้อ่าน มา  Import Vmware Template ใช้งานกันครับ แล้ว Vmware Template คือ อะไร Vmware Template ก็คือ Hardware Profile , Guest OS Profile  ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อสะดวกในการ Deploy VM ยังไงหละครับ  เช่น เวลาต้องการที่จะ Deploy Guest  ใช้งานไม่ต้องเสียเวลามานั่ง Config ว่า Vm นี้ต้องใช้ CPU ,RAM ,HD,Network เท่าไหร่ รวมถึง เราสามารถให้ Enable Role หรือ Feature
และ Activate Key อัตโนมัติก็ได้ครับ ทำให้สะดวกในการ Deploy VM ครับ เดี๋ยวเรามาดูขั้นตอนการ Import Vmware Template กันเลย มี 4 Step ง่ายครับ

Step 1 : ใน SCVMM Console Click Library Server ครับ




















Step 2 :  ใน Home Tab จะเห็น Menu Import Vmware Template ให Click ดังรูปครับ












Step 3 : จะเห็น Vmware Template ที่ Create ไว้ครับให้ Select แล้วกด OK ครับ
















Step 4 :  หลังจาก Import ลองเข้าไปดูที่ Template  และในหัวข้อ Vmware Template จะมี Template ที่เรา Import เข้าไป ปรากฎอยู่ดังรูปและมี Status OK ครับ















เห็นมั้ยละครับ ท่านผู้อ่าน การ Import Vmware Template ใช้งานไม่ยากเลยใช่ไหมครับ Vmware Template ก็จะช่วยให้เรา Deploy VM ใช้งานให้สะดวกมากขึ้นครับ สำหรับวันนี้ผมขอจบตอนที่  3 ไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ อาจจะมีหลายตอนครับ ตอนถัดไปจะพาท่านผู้อ่านทุกท่าน ไป Config Convert VMware Virtual Machines to Hyper-V Virtual Machines using SCVMM 2012 วันนี้ผมขอตัวไปพักก่อน ตอนหน้าเจอกันครับสวัสดีครับ ปล โปรดติดตามตอน  4  นะครับ

Sunday, October 13, 2013

การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่2 )

การบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR ด้วย Systems Center 2012 (ตอนที่2 )
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้ผมจะมา Update เรื่องการบริหารจัดการ Private Cloud MULTI-HYPERVISOR  ในตอนที่ 2 ต่อนะครับ  ย้อนกลับไปเมื่อตอนที่ 1 ท่านผู้อ่านก็น่าจะเห็นภาพรวมในการใช้ Systems Center 2012 ในการบริหารจัดการ Vmware  โดยใช้ SCVMM2012 เข้าไปบริหารจัดการ รวมถึงเข้าไป  Add Vcenter Sever  เรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนต่อไป หลังจากที่ Add Vcenter เรียบร้อยแล้ว เราต้องใช้ SCVMM2012 เข้าไป Add Vmware ESX ครับ มีขั้นตอนอย่างไร มาติดตามกันเลยครับมีทั้งหมด 18  Step ครับผม
 
 
Step 1 ใน Fabric ให้กด Add Resource แล้วเลือก VMware ESX Host and Cluster ดังรูป
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 2 ให้ระบุ Credentials ที่มีสิทธิ์ในการ Add Vmware ESX Host ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 3 Click the Run As account  ที่มีสิทธิ์ในการ Add Vmware ESX นะครับ ดังตัวอย่าง ผมเลือก ESX4adminแล้วกด OK  ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 4  หลังจากที่เลือก Account แล้วก็ Next ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 5 On the Target resources จะโชว์ Vmware ESX ทั้งหมดที่ SCVMM2012 มองเห็นครับ ดังในรูป มี Vmware ESX ทั้งหมด 2 Host ครับ 
 
 
 
Step 6  ให้ทำการ Select all ในการณีที่เราต้องการ Manage ESX Host ทุกตัวครับ แล้ว กด Next ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 7   On the Host settings  ให้เราทำการสร้าง Host Group VMware รอไว้ก่อนครับ เพราะในขั้นตอนนี้จะให้เราระบุว่า Vmware ESX ที่ทำการ Add เข้ามาให้ไปอยู่ใน Host Group ไหนครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
O
 
Step 8 on the Summary หลังจากที่เลือก Host Group ให้ Vmware ESX แล้วให้กด Finish ครับ

 
 
Step 9  ลองเข้าไปดูใน Menu Jobs ใน SCVMM2012 ครับ ว่า complete ดังรูปหรือเปล่า ถ้าเหมือนดังรูปแสดงว่าเรา Add Vmware ESX เข้ามา Host Group เรียบร้อยครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 10   หลังจากนั้นเข้าไป verify  Host Vmware ที่ Add ดูด้วยครับ ว่า Status ขึ้นเป็น  OK เฉยๆ หรือยัง
 
หรือว่าขึ้นเป็น OK แต่มี (Limit)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 11  ถ้าขึ้น OK แต่มี (Limit) ดังรูปแสดงว่าเราต้องทำการ Add Certificate เพิ่มครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 12  ให้ทำการคลิกขวา ที่  Vmware ESX ที่ขึ้น OK (Limit) ดังรูปครับ
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 13 หลังจากนั้นมาที่ Tap Management ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 14  ตรงช่อง Credential ให้ระบุ Account ในการ Run ครับ ดังตัวอย่างผมระบุ ESX4admin ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 15  ตรงช่อง certificate ด้านล่างให้กด Retrieve ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 16  หลังจากนั้น กดปุ่ม  View Detial จะมี The certificate thumbprint  ขึ้นมาครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 17 หลังจากนั้นให้ กด the Accept the certificate for this host แล้ว กด OK ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Step 18 หลังจากนั้นก็จะขึ้น Status OK ดังรูปครับ อันเป็นเสร็จกระบวนการ Add Vmware ESX ด้วย SCVMM2012 ครับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เห็นมั้ยละครับ ท่านผู้อ่าน  เราสามารถใช้ SCVMM2012 เข้าไปจัดการ Vmware ได้อย่างง่ายดายครับ สำหรับวันนี้ผมขอจบตอนที่  2 ไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ อาจจะมีหลายตอนครับ ตอนถัดไปจะพาผู้อ่านทุกท่านไป  และ ทำ VMware Profile ใน Libray Server  และ Create a Private Cloud from a VMware Resource Pool  รวมถึงวิธีการ Monitoring  VMware Private Cloud ครับ ยังไม่จบแค่ 2 หรือ 3 ตอนแน่ๆครับ วันนี้ผมขอตัวไปพักก่อน ตอนหน้าเจอกันครับสวัสดีครับ ปล โปรดติดตามตอน 3  นะครับ